NCASE M1 V6 - เคสเล็กที่ระบายความร้อนได้ยอดเยี่ยม
อัปเดตเมื่อ 30 ธ.ค. 2562
วันนี้จะมาลองประกอบ NCASE M1 V6 ดูนะครับ - NCASE เป็นเคสขนาด 12.7 L ที่ใส่ AIO ขนาด 240mm ได้ ซึ่งก็มีขนาดใก้ลเคียงกันกับ Ghost S1 + Large Top hat และ Nouvolo Steck + Stack Expansion
ขนาดของมันคือ 338mm x 160.6mm x 255.5mm หนากว่า Nouvolo Steck ประมาณ 15mm แต่เตี้ยกว่า 5mm ส่วนความยาวก็ยาวกว่า 15mm

ในรุ่นที่ 6 นี้ได้มีการปรับปรุงแผงด้านข้างให้รูระบายความร้อนครอบคลุมส่วนที่เป็น GPU ด้วย

ตัวโครงด้านในจะเป็นสีดำ ไม่ว่าสีของแผ่นปิดจะเป็นดำ หรือสีโลหะก็ตาม

ในเวอร์ชั่นนี้ ตัว Panel ด้านบนปรับความหนาเป็น 2.0mm มีทั้งหมด 4 ชิ้นเหมือนรุ่นก่อน ๆ ส่วนแผ่นปิดซ้ายขวานั้น สลับกันไม่ได้ครับ
Front Panel I/O สามารถถอดออกได้ โดยจะมีแผ่นปิดให้ เหลือแค่ปุ่มเปิดปิดเพียงปุ่มเดียว หากถอดออกจะทำให้ใส่ GPU แบบ 3 สล็อตได้ยาว 290mm
ทดสอบด้วย i9-9900k กับบอร์ด Strix z390i ตัวเมนบอร์ด และ PSU ใส่ง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องความคลาดเคลื่อนแต่อย่างใด

PSU ขันสกรูได้ 4 ตัวด้านนอก 2 ตัวด้านในติดครับ ขันไม่ได้ ในกล่องมีสกรูสำหรับ PSU มาให้
ด้านหน้ามีที่ให้ใส่ HDD 2.5" โดยใส่ซ้อนกันได้ 2 ตัว แต่ก่อนอื่นต้องถอดขายึด CD ออกก่อน สำหรับคนที่เกิดไม่ทัน CD นี่คือ Compact Disc ครับ เป็นอุปกรณ์อ่านข้อมูลสมัยโบราณ
ด้านล่างติดพัดลม 120mm ได้ 2 ตัว สำหรับคนที่ใช้ GPU แบบ 2 สล็อตก็ใช้พัดลมหนา 25mm ได้ครับ หรือจะติด HDD 3.5" ตรงนี้ก็ได้เหมือนกัน ส่วนตัวนี้ ผมติดพัดลม 1200 RPM ดูดอากาศเข้าเพื่อช่วยระบายความร้อนให้ GPU ครับ พวกพัดลมที่รอบสูงกว่านี้จะไม่ค่อยมีประโยชน์อะไร มีแต่เสียงที่ดังขึ้นเท่านั้น ตัวตะแกรงด้านล่างทำใหม่ มีขนาดของช่องอากาศใหญ่ขึ้น และมีตัวกรองฝุ่นติดมาให้ด้วย
ด้านท้ายเครื่องติดตั้งพัดลม 92mm ได้ หากใส่ชุดน้ำ AIO แนะนำให้ใช้พัดลมหนา 15mm ตัวในรูปเป็น ID Cooling 2400RPM แต่ผมล็อกความเร็วไว้ที่ 1300 RPM เพื่อความเงียบครับ
จากนั้นผมก็ทำการยัด Gigabyte RTX 2080 Ti Windforce ลงไป ใส่ไม่ยากครับ มีพื้นที่เหลือ ๆ พวกสาย USB A - USBC - Audio รกใช้ได้เลย เห็นสายไฟแล้วท้อใจเลยครับ
ในชุดนี้ผมจะระบายความร้อนด้วย H100i Platinum ครับ เพื่อเป็นการใช้พื้นที่ในเคสให้คุ้มค่ามากที่สุด เพราะถ้าใส่พวกซิงค์ลม เคสมันก็ไม่ได้เล็กลงแต่อย่างใด ไม่เหมือ Novulo Steck ที่ถอดชุดฝาครอบแล้วใส่ซิงค์ลมมันก็จะมีขนาดที่เล็กลง
AIO ทีผมแนะนำให้ใช้กับเคสเล็กก็จะเป็นรุ่นที่มีสายขนาดเล็ก นิ่ม และที่หัวป๊มสายหมุนได้ ที่ผมเคยใช้ก็จะมี Kraken X52 กับ H100i Pro หรือ Platinum ครับ ส่วน Cooler Master ผมไม่แนะนำเพราะสายเป็น FEP แข็ง เวลางอจะมีปัญหาครับ

เสร็จเรียบร้อย ทดลองเปิดดูปรากฏว่าบู๊ตไม่ขึ้นครับ เกิดจากเจ้า Strix Z390i เสีย RAM Slot ที่ 2 ไม่ทำงาน จำต้องเปลี่ยนเมนบอร์ด และ CPU เป็น Aorus X570i + Ryzen 3900x
อุณหภูมิ CPU ที่ Full load อยู่ที่ 80 C ถ้าเล่นเกมส์ก็จะอยู่ที่ 65-70c ไม่ต่างจาก Nouvolo Steck
อุณหภูมิ GPU ที่ Full load อยู่ที่ 75 C ทำได้ดีกว่า Nouvolo Steck เล็กน้อย (78 C)
ก็จัดได้ว่าเป็นเคส 12.7 L ที่ทำความเย็นได้ดีที่สุด
แล้วมันยังพกพาไปไหนมาไหนได้ไหม? มันยัดลงกระเป๋า MSI URBAN RAIDER ได้ครับ ฟิตพอดี ๆ แต่ใส่อย่างอื่นตามลงไปด้วยไม่ได้เลย น้ำหนักเคสรวม ๆ ก็ 7 ก.ก. ส่วนการผ่านจุดตรวจสนามบินสุวรรณภูมิ ผ่านได้ครับ แม้ว่าจะมีน้ำใน AIO ทาง จ.น.ท. บอกว่าไม่ต้องนำออกจากกระเป๋ามาแสกนด้วยซ้ำ สะดวกกว่าโน๊ตบุคอีก ส่วนสนามบินบางประเทศ อาจมีเรียกขอตรวจ แต่ก็ผ่านตลอดครับ ไม่เคยโดนให้ต้องตัดสาย AIO แล้วเทน้ำออก
ขอจบรีวิวแต่เพียงเท่านี้ครับ