top of page

G-Story Portable Gaming Monitor รีวิว

อัปเดตเมื่อ 22 ก.ย. 2562

เคสเล็ก ๆ มันก็ต้องใช้คู่กับจอเล็ก ๆ เวลาเราต้องเดินทาง จอมันก็ต้องพกพาไปด้วยได้ สะดวกไม่แพ้ gaming laptop ปัจจุบัน จอพกพาในท้องตลาดส่วนใหญ่ก็จะมีขนาด 11" - 17.3" ความละเอียดก็มีตั้งแต่ 1080p, 1440p, 2160p หรือ 4K นั่นเอง ส่วน Refresh rate นั้น โดยมากก็จะเป็น 60 Hz หรือมอนิเตอร์ปกติทั้งไป ซึ่งหากเราใช้ GPU ที่ขับ Frame rate ออกมาได้มาก ๆ เจ้ามอนิเตอร์ 60 Hz มันก็ไม่สามารถแสดงความสามารถของ GPU ของเราได้อย่างเต็มที่ หากนำมาใช้เล่นเกมส์ก็เป็นที่รู้กันว่ามันจะมีอาการภาพเบลอ บางคนที่ติดใช้จอ 120Hz หรือ 144 Hz พอมาใช้จอ 60Hz ก็จะเกิดอาการเวียนหัวได้


G Story 17.3" - 1440p - 120Hz
G Story 17.3" - 1440p - 120Hz

แล้ววันหนึ่งผมก็มาเจอเจ้ามินิเตอร์ตัวนี้ G-Story ชื่ออาจจะไม่เคยได้ยิน แต่ก็เริ่มได้รับความนิยมใน US และมีผมตอบรับค่อนข้างดี เพราะมันเป็นรุ่นเดียวในตลาดขณะนี้ที่มี Refresh Rate 120Hz และมีความละเอียดให้เลือกทั้ง 1080p และ 1440p ซึ่งตัวที่ผมนำมารีวิวนี้จะเป็นรุ่น 1440p

จุดเด่นของเจ้ามอนิเตอร์ตัวนี้ก็คือ

  • มี refresh rate ที่ 120Hz และ AMD FreeSync เรียกได้ว่าเป็นรุ่นเดียวในตลาดเลยก็ว่าได้

  • มี response time (ความไวในการเปลี่ยนสีเทา) ที่น้อยนิดเพียง 1 ms บางรุ่นก็โฆษณาว่า 1 ms พอนำมาทดสอบแล้ว ส่วนใหญ่จะเกิน แต่รุ่นนี้ผมทดสอบแล้วเทียบกับจอ Gaming ระดับโปร ได้ค่า response time 1 ms จริง ๆ

  • มีความละเอียด 1440p หรือ 2K เหมาะกับขนาดจอ 17.3" ถ้าเป็น 1080p ก็จะมองเห็นเม็ด pixel ถ้าเป็น 4 K มันก็จะละเอียดเกินไป

  • รับ Input ได้ทั้ง HDMI และ USB-C ถึงแม้ว่ามันจะไม่มี Display Port แต่ก็สามารถที่จะต่อ DP ผ่าน USB-C ได้ โดยเฉพาะ GPU RTX บางรุ่นที่มี VirtualLink ก็จะเสียบและแสดงผลได้ทันที

  • มีน้ำหนักเพียง 1060 g มองดูเหมือนหนักแต่จริง ๆ แล้วเบามาก


G Story Resolution
G Story Resolution

ในการใช้งาน เราต้องต่อสาย HDMI หรือ USB-C เข้ากับ GPU ของเราก่อน แล้วก็เสียบสาย Adaptor 12V-2A ในหน้าจอ Windows 10 แนะนำให้ใช้ Scaling ที่ 100% ซึ่งตัวหนังสือมันอาจจะเล็กไปหน่อย ต้องขยับหน้าจอเข้ามาใก้ล ๆ ส่วนตัวผมคิดว่าตั้งค่า Scaling 125% จะพอเหมาะ กำลังดี ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป แต่อาจจะมีปัญหากับบางโปรแกรม หรือบางเกมส์ เพราะโปรแกรมใน Windows ส่วนใหญ่จะปรับมาให้เข้ากับ Scaling 100% - 150% - 200% เท่านั้น


Windows 10 refresh rate setting
Windows 10 refresh rate setting

ครั้งแรกก็ต้องตั้งค่า Refresh Rate ก่อน เดิมมันจะเป็น 60Hz เราก็มาเปลี่ยนให้เป็น 120Hz


G Story Enable G Sync
G Story Enable G Sync

เนื่องจากผมไม่มี GPU ของ AMD ก็เลยทดลองต่อ RTX 2080Ti ผ่าน USB-C ปรากฎว่ามีเมนู G-Sync โผล่ขึ้นมา จากที่ลองใช้งานดู มันยังไม่เป็น G-Sync Certified บางเกมส์อย่าง BFV ช่วง intro จะมีปัญหาภาพกระตุก แต่พอยกเลิก G-Sync ก็ไม่มีปัญหา ภาพไหลลื่น


G Sync enable on G Story monitor
G Sync enable on G Story monitor

ส่วนการใช้งานจริง ไม่ว่าจะใช้ GPU ค่าย Nvidia หรือ AMD ก็ตาม ผมแนะนำให้ต่อผ่าน HDMI port เท่านั้น เนื่องจากผมได้ทำการทดสอบ response time แล้ว หากต่อผ่าน USB-C ค่า response time จะช้าลงมาก มากจนสังเกตุได้เลย


G Story response time test
G Story response time test

ภาพที่ได้จากการเล่นเกมส์นั้น ไหลลื่น ไม่หน่วง ไม่แตกต่างจาก gaming monitor 120Hz ขนาดใหญ่ทั่ว ๆ ไป เนื่องจากมันเป็นจอประเภท TN คุณภาพของสีสันนั้น ก็จัดได้ว่า OK มุมมองของภาพอาจจะด้อยกว่าจอ IPS แต่ขาตั้งด้านหลังจอก็สามารถปรับมุมมองได้หลากหลาย ความสว่างนั้น สูงถึง 400 cd/m2 สว่างกว่า Portable monitor ทั่ว ๆ ไปอยู่พอควรเลย


G Story as mobile work station
G Story as mobile work station

ในการใช้ทำงาน เช่นงาน CAD 3D ก็ให้ภาพที่ละเอียด ลายเส้นไม่แตก การหมุนภาพ หรือเลื่อนดูหน้าเว็บต่าง ๆ ก็ไหลลื่น ดีกว่าจอภาพ 60 Hz ทั่ว ๆ ไปอย่างเห็นได้ชัด


มาดูรูปลักษณ์ภายนอกกันบ้าง ขอบเฟรมรอบ ๆ สีดำเป็นพลาสติกด้าน คล้ายยาง แต่ไม่หนึบหนับติดมือ


G Story cover
G Story cover

มี cover ติดมาให้เลย เจ้า cover นี้สามารถแปลงเป็นขาตั้งได้ ยึดติดด้วยแถบแม่เหล็ก


G story back side
G story back side

ด้านหลังมีลำโพง 1 คู่ ขนาด 2 โอห์ม เสียง เปิดยูทูบก็ฟังรู้เรื่องครับ ดังใช้ได้


G Story unfold the cover
G Story unfold the cover

ตอนกางทำขาตั้ง อาจดูเกะกะหน่อย เพราะ port เชื่อมต่อต่าง ๆ ก็อยู่ทางด้านหลัง


G Story Cover Stand
G Story Cover Stand

เมื่อกางแล้วก็มั้นคงดี ปรับมุมมองได้พอควร


อปกรณ์ที่มีมาก็จะมีสาย HDMI ยาว 1m หัวเป็นหัว HDMI ปกติ แต่เป็นสายขนาดเล็ก พับงอสะดวก แต่สั้นไปนิด ถ้าวาง CPU บนพื้นจะยาวไม่ถึง นอกจากนี้ก็มี ขาตั้ง กรณีที่ไม่อยากใช้ Cover แล้วก็มี Adaptor 24V 2A หัวปลั๊กมีตัวแปลงมาให้ ถ้าใครต่อผ่านพวกสายพ่วงก็เสียบได้เลย สุดท้ายก็จะเป็นรีโมท ไว้ปรับตั้งค่าต่าง ๆ เช่นเปิดปิด FreeSync หรือปรับค่าความสว่างก็ทำได้สะดวก


G Story with stand
G Story with stand

ด้านหลังมีปุ่มควบคุม และปุ่มเปิดปิด แต่ใช้รีโมทจะสะดวกกว่ามาก ปุ่มเปิดปิดนี่ไม่เคยใช้ เปิดคอมปุ๊ปมันก็เปิดจอเอง เหมือนจอทั่ว ๆ ไป เมื่อใส่กับขาตั้งแล้วจะใช้ Cover ไม่ได้ แต่ผมชอบขาตั้งแบบนี้มากกว่ามันไม่เกะกะ และปรับมุมมองได้ดีกว่าขาตั้งแบบ cover


G Story I/O Port
G Story I/O Port

พอร์ทด้านหลังมี HDMI 2.0 x2 USB-C x1 USB-A x1 Audio Jack x2 แล้วก็ DC In

พอร์ท USB-C นี้ผมลองต่อกับโทรศัพท์มือถืออย่าง OnePlus 7 Pro ก็แสดงภาพได้ทันที แต่ถ้าผมถอดสาย DC IN ออก ภาพมันก็จะมืดลง และดับไป เป็นเพราะโทรศัพท์มันจ่ายไฟได้ไม่ถึง 24 W

ถ้าต่อ USB-C ผ่าน VirtualLink ของ Nvidia ก็สามารถใช้พอร์ท USB-A ได้


G Story in 17" laptop sleeve
G Story in 17" laptop sleeve

เนื่องจากผมใช้ขาตั้ง ใส่ cover ไม่ได้ เลยลองเอามาใส่ laptop sleeve ขนาด 17" มันก็ใส่ได้พอดี ส่วนการใส่ในกระเป๋าเป้นั้น มันยัดใส่กระเป๋าเป้โน๊ตบุ๊คขนาด 15.6" ได้แบบฉิวเฉียดครับ


สรุปได้ว่า G Story แม้จะเป็นจอเกมมิ่งแบบพกพาตัวเดียวในท้องตลาด แต่ก็ทำออกมาได้ค่อนข้างดี จะมีที่ติก็ตรงที่ Port ต่าง ๆ มันอยู่ด้านหลัง แทนที่จะไว้ด้านข้างทำให้เสียบสายยากหน่อย แล้วก็ไม่มี Battery ในตัว ทำให้ต้องเสียบกับ Adaptor ตลอดเวลา

หากผู้อ่านสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่นี่เลยครับ


ดู 1,537 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด