Form D T1 - Custom Loop Water Cooling

ใน Blog นี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์ในการประกอบเคส Form D T1 ซึ่งเคสตัวนี้ที่ร้านก็ได้นำเข้ามาขายเมื่อ ส.ค. ปีที่แล้วครับ รีวิวนี้จะยาวหน่อยนะครับ รูปเยอะ รีบมาเขียนไว้ก่อนจะลืม
เคส Form D ก็จะมาในรูปแบบ Flat Pack ครับ ต้องมาประกอบเอง ประกอบไม่ยาก ใช้เวลาประกอบประมาณ 10-15 นาทีครับ วัสดุแผ่นฝาหน้า ฝาบน ฝาล่างจะเป็น อลูมิเนียม CNC
ส่วนฝาด้านข้างจะเป็นเหล็กแผ่นเจาะรูครับ ขนาดรูค่อนข้างเล็ก เฉพาะตัวแผ่นข้างนี้จะมีน้ำหนักเกือบเท่าเคสทั้งตัวเลยครับ
Hardware ที่ใช้
CPU : i9-10900K (Under Volt max 200W)
GPU : Zotac RTX 2080 Ti
M/B : Aorus Z490i Ultra
PSU : Corsare SF750
แรกเริ่มเลยผมใช้ Corsair H100i กับซิงค์เดิม ๆ ของ Zotac ครับฝั่ง GPU เป็น 3 สล็อต และ CPU จะเหลือ 55mm ตัว Corsair H100i มันจะสอดลงร่องที่ด้านหน้าของเคสได้พอดีมาก บางคนก็ใส่ไม่ได้นะครับ แล้วแต่ดวง บางทีก็ต้องมีตะไบหม้อน้ำให้มันแคบลง
พัดลมด้านท้ายเครื่องจะเป็น Noctua 120x15mm ผมต้องเจียรพัดลมออก 1-2mm ครับ เพราะ M/B ที่ผมใช้มันมีติ่งยื่นออกมาติดใบพัดลม หากผมสลับเอาพัดลมไว้ด้านบน เวลาปิดฝา ฝาจะโก่งครับ ไม่สนิทครับ
หม้อน้ำอีกตัวที่มีขนาดความกว้างเท่า Corsair ก็จะเป็นของ EK ครับ

จากรูปด้านบน หากดันหม้อน้ำเข้าไปในร่องด้านหน้าเครื่อง (ทางซ้าย) ได้มากเท่าไหร่ มันก็จะปิดฝาได้ง่ายขึ้นเท่านั้นครับ ฉะนั้นหม้อน้ำที่ใช้ต้องสอดเข้าร่องได้ครับ ถ้าไม่ได้ก็ต้องเจียรออก
จริง ๆ แล้วใช้หม้อน้ำ 120mm จะใส่ได้ง่ายกว่า ผมทดลองดูแล้วอุณหภูมิแทบจะไม่ได้ต่างกันเลยครับ
บังเอิญไปได้ GPU Block ของ Alphacool กำลังลดราคา เลยจัดมาลองว่า Heatsink กับหม้อน้ำ 240mm อะไรมันจะเจ๋งกว่ากัน
อุปกรณ์ที่ผมใช้ครับ
หม้อน้ำ : Alphacool 30mm แล้วสลับมาใช้ XSPC 21mm
ชุดข้อต่อ : Alphacool
Quick disconnect : Alphacool
Pump : Liang DDC 10W แบบไม่มี Heatsink ด้านหลัง
Pump header : Bitspower Magic cube
ข้องอ 90 ผมใช้ของ Alphacool ครับ ขนาดจะเล็กที่สุด และสามารถที่จะปิดฝาได้โดยไม่ชนครับ (แตะพอดี) ฝั่ง GPU ผมใช้เป็น 3 slot เหมือนเดิม
ผมต่อปั๊มกับ Magic Cube แล้วใช้กาวสองหน้าแปะไว้กับด้านหลังของ PSU ครับ ความยาวของ GPU จะชนกับด้านหลังปั๊มพอดี เหลือที่ประมาณ 1mm ครับ
ส่วนที่ยากทีสุดก็คือการเติมน้ำ และไล่ฟองอากาศครับ ผมต้องใช้ปั๊มอีกตัว กับถังพักน้ำ เติมน้ำเข้าไปแล้วค่อย ๆ พลิกเคสกลับไปมาที่ละด้าน จนฟองอากาศไหลออกมาจนหมด ใช้เวลา 2-3 ช.ม. ครับ หากฟองอากาศยังคงค้างอยู่ มันก็จะมีเสียงฟอง ดังมาก น่ารำคาญ ควรจะไล่ฟองออกให้ได้มากที่สุดครับ เสียงฟองจะหายไป เหลือแต่เสียงแหลม ๆ ของ ปั๊ม DDC อย่างเดียว
เกือบลืมบอก อย่าใช้ PUMP เกิน 10W นะครับ เสียงมันจะดังมาก 10W นี่เสียงยังพอทนได้ครับ
เสียงฟองอากาศก็ตาม VDO ด้านล่างเลยครับ

พอถอดปั๊มนอกออก น้ำมันจะหยดออกจาก quick disconnect 3-4 หยดครับ เราก็ต้องเติมกลับเข้าไป ไม่งั้นมันจะมีเสียงฟองอากาศครับ เปิด ปิด ปั๊มบ่อย ๆ มันจะค่อย ๆ ไล่ฟองที่ค้างออกมา หากมีฟองค้างแม้แต่ลูกเล็ก ๆ มันก็จะทำให้เกินเสียงได้ครับ หากทำได้ตามนี้ ปั๊มมันก็จะเดินเงียบ จะพลิกเคสท่าไหน เอาหม้อน้ำไว้บน ไว้ล่าง มันก็จะไม่มีเสียงฟองครับ
ใส่ Custom Loop แล้วมันเย็นขึ้นไหม ?
ก็ขอตอบตรง ๆ เลยว่า ไม่ นอกจากจะไม่เย็นขึ้นแล้ว ยังร้อนกว่าเดิมอีกด้วยครับ ถึงแม้ว่าผมจะ Under Volt GPU 850mV จน Power Package เหลือแค่ 210W และ Under Volt CPU 30mV ขณะเล่นเกมส์ CPU+GPU ไม่เกิน 300W อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พอเล่นไปได้ซัก 1 ช.ม น้ำหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูงถึง 56C เลยทีเดียว หากแตะ 60C จะทำให้ Oring และปั๊ม DDC มีปัญหาได้ครับ

แต่พอผมถอดฝาข้างออกเท่านั้นแหละ อุณหภูมิก็ลดลงพรวดเดียว 10C มันคงเกิดจากพัดลมแบบบางมีแรงดูดไม่มาก แล้วมาเจอกับตะแกรงเหล็กรูถี่ ๆ อีกมันก็เลยดูดลมไม่เข้า

สรุป
หม้อน้ำ 240mm กับพัดลมบาง Cooling load CPU+GPU ระดับ 300W ไม่ได้ หากใช้ High End hardware กับเคสนี้ แนะนำให้ใช้ AIO กับซิงค์เดิม ๆ ของ GPU ครับ บ้านเราอุณหภูมิห้อง 26-27C จะไปเอาอย่างฝรั่ง ห้องอุณหภูมิ 18C ไม่ได้ครับ
หากใช้ซิงค์เดิมแล้ว GPU ยังแตะ 80C อยู่ ลองเปิดฝาข้างดูครับ น่าจะลดได้ 8-10C
วางหม้อน้ำไว้ด้านบนสุด ปั๊มอยู่ด้านล่าง CPU เวลามี Load จะเย็นกว่า แต่ถ้ามี Load จาก GPU ร่วมด้วย นาน ๆ ไปมันจะดูดลมร้อนจาก GPU เข้าไป คอยดูอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นด้วยนะครับ แตะ 60C เมื่อไหร่ปั๊ม AIO พังครับ
AIO 120mm ดีที่สุดสำหรับเคสนี้ครับ มาหาวิธิกดฝาให้ปิด เสียเวลาเปล่า ๆ ไม่ได้เย็นกว่า 240mm แม้แต่น้อย